คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

faculty of science and industrial technology

ผลิตบัณฑิต งานวิจัย และนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

รู้จักคณะ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

วิสัยทัศน์

เป็นคณะชั้นนำของประเทศที่ผลิตบัณฑิต งานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

พันธกิจหลัก

  • ผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่มีสมรรถนะสากล มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ และมีความสุข
  • ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนอง ความต้องการของชุมชน
  • บริการวิชาการที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน
  • ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ค่านิยม มีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติตามพันธกิจ มุ่งเน้นผู้เรียน และเป็นที่พึ่งของสังคม สมรรถนะหลักขององค์กร เป็นสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อภาคการเกษตรธุรกิจ อุตสาหกรรม และชุมชน วัฒนธรรมองค์กร SCIT : Society Cooperation Innovation Targets มุ่งสร้างสรรค์ผลงาน ทำงานเป็นทีม เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
วิทยาศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Science Program
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยางพารา

สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมวัสดุ
Material Technology and Industrial Management

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมวัสดุ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมยางหรืออุตสาหกรรมไม้ และแก้ปัญหาได้จริงในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อสามารถจัดการและพัฒนา สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์พร้อมนำมาใช้ปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวให้ทันต่อความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการจัดการของอุตสาหกรรมยางหรืออุตสาหกรรมไม้ มีคุณธรรม จริยธรรม คงไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม และมีจิตสาธารณะแบ่งออกเป็น 2 วิชาเอก คือ

1. วิชาเอกเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมยาง
2. วิชาเอกเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมไม้

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและอุตสาหกรรมไม้
2) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย
3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรมยางและภาคอุตสาหกรรมไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง      เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายควบคุมคุณภาพในการผลิต ฝ่ายผลิตสินค้า ฝ่ายจัดการวัสดุ   ฝ่ายตรวจสอบและประกันคุณภาพ และฝ่ายฝึกอบรม

สาขาวิชาเคมีเพื่ออุตสาหกรรม

สาขาวิชาเคมีเพื่ออุตสาหกรรม
Chemistry for Industry

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะทางเคมีที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพในภาคอุตสาหกรรมทั่วไป และมีองค์ความรู้เฉพาะด้านที่ตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ พื้นภาคและประเทศ เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งมีสมรรถนะเชิงสากล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งเอกชนและภาครัฐ งานที่สามารถทำได้ คือ
1) นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ตามหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์   กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมทางหลวง การไฟฟ้า กองพิสูจน์หลักฐาน  มหาวิทยาลัย เป็นต้น  
2) นักวิทยาศาสตร์ตามหน่วยงานภาคเอกชน เช่น
   - อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
   - อุตสาหกรรมไขมันและน้ำมัน
   - อุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ เช่น ยารักษาโรค เครื่องสำอาง สารเคมี
   - อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก เส้นใย
   - อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) นักวิจัยและพัฒนา (R&D) ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
4) ผู้ตรวจสอบคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการและผู้ควบคุมการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
5) ประกอบธุรกิจส่วนตัว

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Technology

หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ประยุกต์หลักวิทยาการข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะ ประยุกต์ความรู้ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตอบสนองความต้องการ
ของภาคอุตสาหกรรม ชุมชน โดยมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติจริง และตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม
มีความรับผิดชอบต่อสังคม ยึดประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
จัดการเรียนการสอนโดยเน้นด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยาการข้อมูล และธุรกิจดิจิทัล โดยจัดการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนและมีการฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการผ่านการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงา
มีการเรียนการสอนในรูปแบบชุดวิชาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน
- ชุดวิชาการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเกษตรอัจฉริยะ
- ชุดวิชาการพัฒนาแอปพลิเคชันธุรกิจอัจฉริยะ
- ชุดวิชาสมาร์ทดีไวซ์แอปพลิเคชัน
- ชุดวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการประมวลผลแบบคลาวด์
- ชุดวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เพื่อช่วยตัดสินใจ
- ชุดวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
- ชุดวิชาระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) นักเขียนโปรแกรม หรือ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
2) ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3) นักวิทยาการข้อมูล
4) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
5) ผู้จัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
6) ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
7) นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
8) นักพัฒนาเว็บไซต์
9) นักออกแบบเว็บไซต์
10)  ผู้ดูแลจัดการฐานข้อมูล 
11)  ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
12)  นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
Environment for Sustainability

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน เป็นหลักสูตรที่มีการเชื่อมโยง ของศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการจัดการที่เป็นพหุวิทยาการ เน้นการสร้างบัณฑิต ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการทำงานจริงและทักษะของพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการสื่อสาร และมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไข ป้องกัน และจัดการปัญหาด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และสามารถศึกษาทางด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีความสอดคล้องกับเกณฑ์ข้อกำหนด ทางวิชาชีพ สามารถประกอบวิชาชีพในด้านการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมและป้องกันมลพิษ ทั้งในสถานประกอบการ ชุมชน เมือง ทั้งรัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถ ในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมมีความรู้พื้นฐานอย่างเพียงพอในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือสามารถเข้าสู่ตลาดงานสากลและสร้างงานเองได้ นอกจากนี้ยังเป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญ ต่อการจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น การเรียนการสอนที่เหมาะสมเพื่อรองรับความหลากหลายและเข้าสู่สากล และการวิจัยเพื่อพัฒนา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) งานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ด้านการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประเมินผลการดําเนินงาน
2) งานควบคุมมลพิษ ด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบ ออกแบบระบบ เดินระบบ บํารุงรักษาระบบ
การจัดการ อํานวยการ และให้คําปรึกษาเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
3) หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆในกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ฯลฯ และองค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เช่น นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
4) หน่วยงานเอกชนและภาคอุตสาหกรรม เช่น เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
5) องค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGO) ทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
6) หน่วยงานบริษัทที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
7) สถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้องทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

          8) การทำธุรกิจส่วนตัวและอาชีพอิสระ
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
Occupational Health and Safety

ผลิตบัณฑิตในสายงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มีความรู้พื้นฐาน ความสามารถและทักษะ ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กฎหมายและวิศวกรรม มีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการบูรณาการการศึกษา กับการทำงาน (Work-integrated Learning : WIL) มีประสบการณ์สหกิจศึกษาจากการปฏิบัติงานจริง ประยุกต์ใช้ความรู้พัฒนางานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้มาตรฐานสากลและยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพ หลักสูตรนี้สามารถตอบสนองความต้องการบุคลากรในสายงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย บัณฑิตสามารถปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามกฎกระทรวง ฯ กำหนดมาตรฐาน ในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 สามารถเข้าสู่การทำงานทุกภาคส่วนทั้งอุตสาหกรรม ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และอาชีพอิสระ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) ผู้ประกอบการด้านการตรวจวัด ตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยง ฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2) ขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน
3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
4) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนได้แก่ ผู้ตรวจแรงงาน นักอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สภาพแวดล้อมในโรงงาน

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Engineering Program
สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม

สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม
Engineering Management

มุ่งผลิตวิศวกรการจัดการให้เป็นผู้มีความรู้และทักษะ รวมถึงมีศักยภาพเพียงพอในการบริหารจัดการงานวิศวกรรมและเทคโนโลยี โดยสามารถออกแบบ วางแผน และบริหารจัดการหน่วยงานหรือส่วนงานต่างๆ ขององค์กรอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ เพื่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศและก้าวสู่ความเป็นสากล ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านคุณธรรม และจริยธรรม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) วิศวกรฝ่ายผลิต
2) วิศวกรควบคุมกระบวนการ
3) วิศวกรด้านการควบคุมคุณภาพ
4) วิศวกรที่ปรึกษาด้านการจัดทำระบบคุณภาพ
5) วิศวกรฝ่ายวางแผนการผลิต
6) วิศวกรโรงงาน
7) วิศวกรความปลอดภัย
8) วิศวกรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ
9) วิศวกรด้านการจัดการพลังงาน
10)  วิศวกรด้านการจัดการโลจิสติกส์
11)  วิศวกรโครงการ
12)  วิศวกรฝ่ายจัดซื้อ
โดยสามารถทำงานได้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม โรงงานแปรรูป
ไม้ยางพารา โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำยาพารา โรงงานแปรรูปอาหารทะเล โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ โรงงานผลิตชิ้นส่วน โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ รวมไปถึงบริษัทขนส่งสินค้า เป็นต้น โดยเฉพาะในพื้นที่ ภาคใต้ตอนบน นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ได้ เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การประปา เป็นต้น สำหรับหน่วยงานราชการนั้นอาจมีความต้องการวิศวกรการจัดการ งานวิศวกรรมเพื่อให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานอุตสาหกรรม เช่น การใช้เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิตต่างๆ เป็นต้น ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับทางกฎหมาย

ติดต่อคณะ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

31 หมู่ที่ 6 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองฯ
สุราษฎร์ธานี 84000

โทรศัพท์ 0 7727 8880
เว็บไซต์ scit.surat.psu.ac.th
Facebook www.facebook.com/scit.psu.surat/